ผลงาน

ชื่อผลงาน : การพัฒนาระบบบริหารจัดการข้อมูลการใช้ประโยชน์จากต้นจาก
ประเภทสิ่งพิมพ์ : โครงการวิจัย
ชื่องานประชุมวิชาการ : 
ชื่อหน่วยงานที่จัดประชุม : 
วันที่ประชุม : 21 ตุลาคม 2559
ปีที่เผยแพร่ : 
ฉบับที่ / issue : 
เล่มที่ / No. : 
จำนวนหน้า : 
เลขหน้า : 
หมายเลขทรัพย์สินทางปัญญา : 
งบประมาณ : ทุนสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ
ปีงบประมาณ : ปี 2560 เริ่มต้น:01 ตุลาคม 2559 สิ้นสุด:30 กันยายน 2560
หน่วยงานให้งบ : สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช) สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ
งบประมาณที่ได้รับ : 308,000.00 บาท
สถานที่จัดงาน : 
มหาวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
จังหวัด : กรุงเทพมหานคร
ประเทศ : ไทย
ประเภทผลงานวิชาการ : โครงการวิจัย
บทคัดย่อ : 
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากต้นจาก และข้อมูลผลิตภัณฑ์จากต้นจากของชุมชนที่มีอยู่ในปัจจุบันให้เป็นแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากต้นจาก โดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะของการวิจัยเพื่อ 1) จัดทำฐานข้อมูลการใช้ประโยชน์จากต้นจากในชุมชน 2) พัฒนาระบบบริหารจัดการข้อมูลการใช้ประโยชน์จากต้นจาก และ 3) ประเมินความ พึงพอใจของผู้ใช้ระบบบริหารจัดการข้อมูลการใช้ประโยชน์จากต้นจากที่พัฒนาขึ้น ดำเนินการวิจัย โดยอาศัยข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้นำหรือตัวแทนชุมชน และหัวหน้าหรือตัวแทนกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จำนวน 31 คน การสำรวจข้อมูลพื้นที่เพาะปลูกต้นจากแยกตามเขตพื้นที่การปกครองส่วนภูมิภาค แบ่งเป็น 5 เขต จำนวน 40 หมู่บ้าน การสำรวจข้อมูลกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแยกตามเขตพื้นที่การปกครองส่วนท้องถิ่น 6 แห่ง จำนวน 41 กลุ่ม และการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบ โดยตัวแทนชุมชน และตัวแทนกลุ่มวิสาหกิจชุมชน จำนวน 70 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ 1) แบบสัมภาษณ์ชุมชน และกลุ่มวิสาหกิจชุมชน เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากต้นจาก ความต้องการข้อมูลในระบบ และการกำหนดรูปแบบการนำเสนอข้อมูลของระบบ 2) แบบสำรวจข้อมูลพื้นที่ที่มีการเพาะปลูกต้นจาก 3) แบบสำรวจข้อมูลกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่มีการใช้ประโยชน์จากต้นจาก 4) จัดทำฐานข้อมูลด้วย MariaDB พัฒนาระบบด้วยโปรแกรมภาษา PHP จัดทำส่วนปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้ ด้วย JavaScript HTML5 และ เทคนิค Ajax ที่ทำให้สามารถโต้ตอบกับผู้ใช้ได้ดีขึ้น และประเมินประสิทธิภาพของระบบ โดยผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูล จำนวน 5 ท่าน และ 5) แบบประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานระบบบริหารจัดการข้อมูลการใช้ประโยชน์จากต้นจาก อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน พัฒนาระบบตามวงจรการพัฒนาระบบ 7 ขั้นตอนผลการวิจัย พบว่า 1) ฐานข้อมูลประกอบด้วย ตารางข้อมูลทั้งหมด 36 ตารางข้อมูล ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลทั่วไป (พื้นที่เพาะปลูก ส่วนประกอบ) ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับต้นจาก ข้อมูลการใช้ประโยชน์จากต้นจาก (ประโยชน์ที่ได้รับ ลักษณะการใช้ประโยชน์) ข้อมูลผู้ใช้ ข้อมูลการตั้งร้านค้า ข้อมูลการขายผลิตภัณฑ์ของชุมชน และข้อมูลการมอบสิทธิ์ให้อนุมัติรายการขายสินค้าชุมชน 2) ระบบที่พัฒนาขึ้นสามารถช่วยในการบริหารจัดการข้อมูลโดยการเพิ่ม ลบ แก้ไข ค้นหา และตรวจสอบข้อมูลการใช้ประโยชน์จากต้นจาก การเผยแพร่ข้อมูลความรู้เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากต้นจาก และเผยแพร่ข้อมูลผลิตภัณฑ์จากต้นจากของชุมชน แบ่งการทำงานของผู้ใช้ออกเป็น 4 ส่วน คือ ผู้ใช้งานทั่วไป ผู้ให้ข้อมูล ผู้ฝากขาย และผู้ดูแลระบบ ทั้งนี้ผู้ใช้แต่ละส่วนจะมีการทำงานกับระบบแตกต่างกัน โดยเฉพาะการตั้งร้านค้าออนไลน์ระบบจะกำหนดให้ผู้ฝากขายต้องเป็นผู้ใช้ที่อาศัยอยู่ในอำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ เท่านั้น นอกจากนี้ผลการประเมินประสิทธิภาพของระบบโดยรวมผู้เชี่ยวชาญเห็นว่า ระบบมีประสิทธิภาพโดยรวมอยู่ในระดับมาก และ 3) ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบ พบว่า ผู้ใช้มีความพึงพอใจในการใช้งานกับระบบอยู่ในระดับมากทุกข้อ เรียงลำดับจากมากไปน้อยดังนี้ ด้านความพึงพอใจในการใช้งานระบบ รองลงมาคือ ด้านความสามารถในการทำงานตามระบบของผู้ใช้งาน และน้อยที่สุดคือ ด้านการออกแบบการทำงานของระบบ จึงสรุปได้ว่าระบบที่พัฒนาสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง และมีประสิทธิภาพตรงตามความต้องการของผู้ใช้ การดำเนินงานต่อไปนักวิจัยมีความเห็นว่าหน่วยงานของรัฐควรให้การสนับสนุนชุมชนโดยการอบรมให้ความรู้กับคนในชุมชน อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ เกี่ยวกับการเพิ่มทักษะด้านการใช้งานคอมพิวเตอร์ในการดำเนินกิจการร้านค้าออนไลน์ และการจดทะเบียนร้านค้าอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจะทำให้คนชุมชนได้ประโยชน์เพิ่มขึ้น